ไขความลับอันตรายของไขมันพอกตับ
January 22 / 2018

โรคไขมันพอกตับ 

โรคไขมันพอกตับ หรือ Fatty Liver Disease เกิดจากการที่มีไขมันสะสมในเซลล์ตับมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคตับต่างๆตามมา ไม่ว่าจะตับวาย มะเร็งตับ ตับแข็ง ที่เริ่มจากภาวะไขมันเกาะตับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รู้หรือไม่? คุณอาจมีโอกาสเป็นโรคไขมันพอกตับ

รีบตรวจหาความเสี่ยงก่อนสาย

 

 

เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะด้วยการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง หรือการปาร์ตี้สังสรรค์ที่ต้องมีแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซ้ำร้ายยังไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย จึงไม่แปลกที่อัตราการเกิดโรคไขมันพอกตับจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคไขมันพอกตับสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแม้ในเด็กวัยรุ่น แต่จะมีโอกาสเกิดมากขึ้นเมื่ออายุประมาณ 45 ถึง 50 ปีขึ้นไป เพราะอัตราการเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง

 

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม ให้ข้อมูลว่า โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เป็นภัยเงียบที่มักไม่แสดงอาการ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับไขมันเกินความต้องการ จนไขมันไปสะสมอยู่ในเซลล์ตับ ซึ่งตับคืออวัยวะสำคัญ ที่แค่เกิดความผิดปกติเพราะไขมันพอกสะสมเพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลร้ายกลายเป็น ภาวะตับวาย และ มะเร็งตับ หรืออาจไปเพิ่มความรุนแรงทำให้โรคเรื้อรัง หลายๆ โรค ได้ผลการรักษาที่ไม่ดี เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดัน โลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ เกาต์ นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น

 

 

 

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ

แล้วคุณล่ะเสี่ยงไหม เช็กเลย!

 

 

 

 

  • ผู้เป็นโรคอ้วน น้ำหนักตัวมาก เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ
  • ผู้เป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ
  • ผู้เป็นโรคไขมันในเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ
  • ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ดื่มชาเขียวที่มีรสหวานแทนน้ำ เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ
  • ผู้ที่รับประทานยาและอาหารเสริมอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ

 

 

ป้องกันโรคไขมันพอกตับได้ด้วยตัวเอง

 

  • งดดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับ
  • ออกกำลังกายวันละ 30นาที ช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับ
  • ควบคุมน้ำตาล ดูแลรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับ
  • ดูแลควบคุมภาวะไขมันในเลือดสูง ช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับ
  • ควบคุมอาหารประเภทไขมัน ช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับ
  • ทานอาหารมีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ และธัญพืช ช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับ
  • หลีกเลี่ยงการทานยาที่มีผลต่อตับ ป้องกันโรคไขมันพอกตับ

 

รคไขมันพอกตับ อาจดูไม่อันตราย เพราะมักไม่แสดงอาการทางร่างกาย ในบางรายแค่มีสัญญาณเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา แต่นั่น…คือความร้ายกาจของโรคไขมันพอกตับนี้ เพราะรู้ตัวอีกทีอาจรักษาไม่ทัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

====================================================================================================

รีบตรวจหาโรคไขมันพอกตับให้เจอ! 

ด้วยเครื่อง ELASTOGRAPHY

 

ที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม เราสามารถตรวจหาภาวะพังผืดในตับและปริมาณไขมันสะสมในเนื้อตับ สาเหตุของ โรคไขมันพอกตับ ได้อย่างแม่นยำ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ที่เรียกว่า เครื่อง ELASTOGRAPHY แทนวิธีการเจาะตับที่มีความเสี่ยงมากกว่า เพื่อวิเคราะห์และประเมินความรุนแรงของภาวะพังผืดในตับ จนขยายสู่วิธีการรักษาโรคไขมันพอกตับที่ตรงจุด โดยทีมแพทย์โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม จะประเมินอาการต่อว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องรีบรักษาหรือไม่ เพื่อให้มีโอกาสรักษาหายขาดก่อนลุกลามเป็นโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้

 

 

5 ข้อดีของการตรวจหาโรคไขมันพอก ด้วยเครื่อง ELASTOGRAPHY

 

1. เครื่อง ELASTOGRAPHY ช่วยให้ทราบผลอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 5-10 นาที

2. เครื่อง ELASTOGRAPHY ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเรื่องการเจ็บตัว มีความปลอดภัย 

3. เครื่อง ELASTOGRAPHY สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้ง

4. เครื่อง ELASTOGRAPHY ไม่เป็นอันตราย ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ 

5. เครื่อง ELASTOGRAPHY  สามารถตรวจเจอก่อน เพื่อป้องกันโรคไขมันพอกตับ

 

สำรวจตัวเองและคนในครอบครัว เสี่ยงหรือไม่ที่จะเป็น  โรคไขมันพอกตับ

 

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงานมากประสบการณ์ ยินดีให้คำปรึกษา ช่วยวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และตรวจหาภาวะไขมันพอกในตับ ด้วยเครื่อง ELASTOGRAPHY ที่จะประเมินความรุนแรงของโรค ตลอดจนวางแผนการรักษา ก่อนที่โรคไขมันพอกตับ จะส่งผลร้ายกลายเป็น ภาวะตับวายและมะเร็งตับต่อไป