แตก ตีบ ตัน อัมพาตเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง
September 19 / 2017

แตก ตีบ ตัน อัมพาตเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง

 

“โรคหลอดเลือดสมอง” หรือ “Stroke” ที่น่ากลัวที่หลายคนคิดว่าเป็นได้เฉพาะผู้สูงวัย แต่ไม่เสมอไปเพราะเกิดขึ้นได้ในวัยกลางคน

สัญญาณเตือนคือ "แตก ตีบ ตัน” ต้องมารักษาให้ทันภายใน 4.5 ชม. ถ้าไม่ทันระวังอัมพาตเฉียบพลัน"


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สังเกตอาการโรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke )

 

เมื่อสมองเกิดภาวะขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สาเหตุของอาการอัมพาตเฉียบพลัน เกิดจากการที่เส้นเลือด “แตก ตีบ ตัน” ขัดขวางการลำเลียงเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์สมอง สมองจึงทำงานได้ไม่ปกติ โดยร่างกายจะแสดงสัณญาณเตือน WARNING!!  ให้เรารู้ตัวก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะภาวะอันตรายมากและรักษายาก หรือรักษาไม่ได้อย่าง “อัมพาตเฉียบพลัน” สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง

 

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ เส้นเลือด “แตก ตีบ ตัน” อันจะไปสู่ “อัมพาตเฉียบพลัน”  อยู่ 2 ประเภท

 

  • ปัจจัยเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่ป้องกันได้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน  ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ ยาคุมกำเนิด โรคซิฟิลิส  และการไม่ออกกำลังกาย
  • ปัจจัยเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่ป้องกันไม่ได้ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น และอาการหลอดเลือดสมอง (Stroke) แตก ตีบ ตันเฉียบพลัน จากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดเสียหายไม่ได้ประสิทธิภาพ ซึ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สาเหตุของของอัมพาตเฉียบพลัน

สัญญาณเตือน คือ

 

  • F - Face ใบหน้าเบี้ยว
  • A - Arm แขนขาชา หรืออ่อนแรง
  • S - Speech พูดไม่ชัด พูดไม่ได้
  • T – Time เวลาทุกนาทีมีค่า เพราะผู้ป่วยมีเวลาเพียง 4.5 ชม. หรือ 270 นาทีเท่านั้น ที่แพทย์จะทำการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ให้หาย เพื่อป้องกันอาการอัมพาตเฉียบพลัน และการเสียชีวิต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)

 

เมื่อผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ไปถึงโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านหลอดเลือดสมอง (Stroke) ทันเวลาแพทย์จะทำการตรวจด้วยเครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งสามารถตรวจดูภาพหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองได้ดี หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) ที่สามารถบอกได้ว่าหลอดเลือดในสมองมีการแตกหรือตีบตัน หรือ การฉีดสีเพื่อดูตำแหน่งของการตีบตันภายในสมองด้วยเครื่อง CATH LAB ภาพที่ได้จะสามารถเห็นมุมของหลอดเลือดสมอง (Stroke) ขณะทำการรักษาได้ในรูปแบบ 3 มิติ หาสาเหตุและทราบสถานการณ์จึงจะวิเคราะห์อาการของ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันอัมพาตเฉียบพลัน

 

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กรณีเส้นเลือดในสมอง “แตก” แพทย์รักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ด้วยวิธีควบคุมไม่ให้เลือดออกเพิ่ม หรือ ต้องผ่าตัด
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กรณีที่เส้นเลือด “ตีบ” หรือ “ตัน” สามารถแบ่งประเภทการรักษาเป็น 2 วิธี คือ ฉีดยาสลายลิ่มเลือด และ ขยายหลอดเลือดสมองด้วยบอลลูน โดยใช้สายสวนเข้าไปเพื่อขยายและดึงเอาลิ่มเลือดออกมา เลือดจึงเดินทางได้ปกติ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จึงมีอาการดีขึ้น

 

“โรคหลอดเลือดสมอง” (Stroke) สาเหตุของอาการอัมพาตเฉียบพลัน โรคนี้ดูผิวเผินเหมือนร่างกายแข็งแรงดี แต่เมื่อถึงจุดพีค เส้นเลือดในสมอง “แตก ตีบ ตัน” จึงจะแสดงอาการรุนแรงของ “โรคหลอดเลือดสมอง” (Stroke) ออกมา ซึ่งการตรวจหาความเสี่ยงและเช็คร่างกายตัวเองอยู่เสมอจำเป็นมาก! เพื่อป้องกันอัมพาตเฉียบพลัน เช่น ตรวจวัดความดัน ตรวจไขมัน รักษาโรคหัวใจ งดสูบบุหรี่ และหมั่นออกกำลังกาย

 

“โรคหลอดเลือดสมอง” มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ดังนั้นการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยวิธีทันสมัย โดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการรักษา โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จึงจำเป็นมาก เพราะหากภายในช่วงเวลานาทีทอง 270 นาที ผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา แน่นอนว่าอาจร้ายแรงจนกลายเป็น อัมพาตเฉียบพลัน หรืออาจเสียชีวิตได้

เมื่อเวลาคือสิ่งสำคัญ การเตรียมข้อมูลโรงพยาบาลหรือศูนย์อัมพาตเฉียบพลันใกล้บ้าน และเบอร์โทรฉุกเฉิน จึงจำเป็นมากเมื่อเพื่อวิเคราะห์และรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้ทันก่อนที่จะกลายเป็นอัมพาตเฉียบพลัน ซึ่งมากกว่านั้นควรเลือกโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ตลอด 24 ชม. เพราะยิ่งปล่อยเวลาผ่านไป เซลล์สมองตายยิ่งเสี่ยงต่ออัมพาตเฉียบพลันมากขึ้น

 

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ถ้าคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค มีข้อแนะนำดังนี้

1. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ต้องออกกำลังกายย่างน้อย 150 นาท/สัปดาห์

2. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ต้องรักษาน้ำหนักให้พอดี ไม่อ้วน

3. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ควบคุมระดับไขมันในเลือด

4. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จำกัดหรือหลีกเลี่ยงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (มาดูวิธีเลิกเหล้า)

5. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) งดสูบบุหรี่

6. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ต้องลดอาหารเค็มจัด

7. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เลือกทานอาหารไขมันต่ำมีเส้นใยมาก

8. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หมั่นตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อหาความเสี่ยง

9. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยิ่งต้องต้องดูแลเป็นพิเศษ    

10. ผู้ที่เคยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ต้องหมั่นสังเกตอาการและเตรียมพร้อมพบแพทย์เสมอ เพื่อรักษาทัน

ป้องกันอัมพาตเฉียบพลัน