การฝึกกล้ามเนื้อตา ด้วยวิธีง่ายๆ เมื่อมีอาการกล้ามเนื้อตาล้าหรืออ่อนกำลัง
December 07 / 2017

การฝึกกล้ามเนื้อตา ด้วยวิธีง่ายๆ

เมื่อมีอาการกล้ามเนื้อตาล้าหรืออ่อนกำลัง

 

 

 

ส่วนใหญ่แล้วเราจะตระหนักถึงความสำคัญของดวงตา ก็ต่อเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติขึ้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะหากรู้ตัวเมื่อสายจะเกิดอันตรายอย่างมาก ดังนั้นการดูแลดวงตาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ จึงจำเป็นที่ต้องเข้ารับการตรวจสายตาบ้าง หรือเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ปัญหาด้านสายตาจะแสดงอาการอย่างชัดเจน เมื่อใดก็ตามที่ทำงานหนัก

 

หน้าที่ของกล้ามเนื้อตา

 

สาเหตุของกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า

 

การผิดปกติของดวงตามักจะเกิดขึ้นเมื่อต้องอยู่ในที่ทำงาน หรือเกิดขึ้นในขณะที่กำลังพยายามเพ่งสายตา จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานานๆ โดยเฉพาะการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า แทบจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน สิ่งนี้เป็นการเพิ่มความเครียดให้กับดวงตา ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อตาล้าได้

     กล้ามเนื้อตาล้า คือ อาการที่ดวงตาเกิดภาวะตึงเครียด ซึ่งอาจตามด้วยความยากลำบากในการโฟกัสภาพหรือมองเห็น ปัญหาตาแห้ง ปวดศีรษะ และความขัดข้องอื่นๆ การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์หรือเครื่องฉาย-แสดงข้อมูล จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกล้ามเนื้อตาล้า และนำไปสู่โรคการมองเห็น อันเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์

 

เมื่อทราบว่า ท่านมีอาการกล้ามเนื้อตาล้าหรืออ่อนกำลัง ( Convergence Insufficiency ) ท่านสามารถจะทำให้กล้ามเนื้อตาเข้าสู่สภาพปกติ หรือทำให้อาการปวดตาไม่สบายตาหายไป ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

 

 

วัสดุที่ท่านต้องเตรียม

 

  1. ไฟฉายเล็กๆ แบบแท่งดินสอ 1 อัน ถ้าพอจะจัดหาได้
  2. ดินสอหรือปากกา 1 ด้าม (ถ้าท่านไม่มีไฟฉาย)

 

 

วิธีฝึก...ควรเริ่มต้นอย่างไร ?

 

  1. ใช้มือข้างที่ถนัดถือไฟฉายหรือดินสอ แล้วยืดแขนออกไปสุดแขน ให้ไฟฉายหรือดินสออยู่ตรงกึ่งกลางของดั้งจมูก ตาทั้ง 2 ข้างเพ่งไปที่ดวงไฟ ท่านจะเห็นไฟ 1 ดวง  ในกรณีที่ท่านเห็นเป็น 2 ดวง อาจจะหลับตาทั้ง 2 ข้าง ลงก่อนแล้วลืมตาดูใหม่ พยายามมองให้ไฟเป็น 1 ดวง หรือดินสอ 1 แท่ง
  2. จากนั้นค่อยๆ เลื่อนมือเข้ามาใกล้ตาเรื่อยๆ ช้าๆ เพื่อจะได้สังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างจุดตั้งต้นกับระยะที่เลื่อนไฟเข้ามา เมื่อใดที่ท่านเห็นไฟหรือดินสอแยกเป็น 2 จุด หรือเริ่มมัว ไม่ชัดเจนเช่นจุดเริ่มต้น ให้ถอยมือกลับไปตั้งต้นให้ชัดเจนที่ระยะสุดแขนเช่นเดิม แล้วเลื่อนเข้ามาใหม่ดึงแขน เข้า-ออก ดังนี้ 20 ครั้ง แล้วหยุดฝึก

 

 

ในแต่ละวันต้องทำ 3 ครั้ง ครั้งละ 20 รวมเป็นวันละ 60 ดังอธิบายไว้ในข้อ 1 ทำให้สม่ำเสมอทุกวัน 3 อาทิตย์ หลังจากฝึกให้กลับมาดูแลผลตามนัด

 

 

การฝึกกล้ามเนื้อตาสามารถทำให้กล้ามเนื้อตาเข้าสู่สภาพปกติ หรือทำให้อาการปวดตาไม่สบายตาหายไปได้