โรคหลอดเลือดหัวใจ – ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ
January 22 / 2018

 

 

ใจสั่น - เจ็บหน้าอก อย่าปล่อยไว้ อาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจที่อันตรายถึงชีวิต

 

 

สังเกตตัวเองและคนในครอบครัว หากมีอาการเจ็บหน้าอกคล้ายๆ กับมีของหนักมาทับตรงกลางหน้าอก (กลางลิ้นปี่) ทำให้หายใจขัด หายใจไม่ออก หรืออาจมีอาการแน่นหน้าอกร่วมด้วย ต้องรีบมาปรึกษาศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม เพื่อรักษาให้ทันเวลา เราพร้อมให้บริการตรวจรักษา ตลอดจนฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ เทคโนโลยีทันสมัย ได้มาตรฐานระดับสากล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชม. หรือ โทร.053-920-300

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รู้จักหลอดเลือดหัวใจ?

 

ทั่วร่างกายมีหลอดเลือดมากมายครับ แต่มีหลอดเลือดหนึ่งที่หากเกิดการอุดตันหรือแคบลงจนเลือดไม่สามารถเดินทางได้สะดวก นั่นหมายถึงทุกเซลล์ในร่างกายเสี่ยงที่จะตายไปด้วย เราเรียกหลอดเลือดนั้นว่า หลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดโคโรนารี ทำไม? หลอดเลือดหัวใจจึงสำคัญนัก?

 

เพราะหัวใจอวัยวะจำเป็น ทุกเซลล์ของร่างกายล้วนต้องอาศัยหัวใจสูบฉีดเลือด ที่ทั้งมีออกซิเจนและอาหารจำเป็นไปหล่อเลี้ยง แน่นอนว่าเมื่อหัวใจหยุดเต้นเซลล์ทุกส่วนในร่างกายก็จะไม่ทำงานและตายในที่สุด หัวใจจึงต้องแข็งแรงยืดหดและบีบขยายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เพียงแค่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายเท่านั้น หัวใจเองก็ต้องสูบฉีดนำเลือดผ่านหลอดเลือดหัวใจไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อของตัวเองด้วยตัวเองด้วยเช่นกัน ถ้าหลอดเลือดหัวใจเส้นนี้ ค่อยๆ ตีบลง หรือหลอดเลือดหัวใจเส้นนี้ ถูกอุดตันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ  ซึ่งเป็นสาเหตุหลักโรคหลอดเลือดหัวใจ และอื่นๆ เช่น เมื่อเลือดไปที่หัวใจน้อยลง จึงได้รับออกซิเจนลดลง และหากเวลานั้นกล้ามเนื้อหัวใจกำลังต้องการออกซิเจนมากขึ้นเช่น เวลาโกรธ เครียด หรือ ขณะทำงานออกแรงมาก ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอกขึ้นมา เราเรียกว่า โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ (Angina pectoris) แต่ถ้ามากกว่านั้นคือกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนมีการตายเกิดขึ้น เพราะ หลอดเลือดหัวใจ หรือ หลอดเลือดโคโรนารีอุดตัน เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ แบบนี้จะมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง จนอาจช๊อกและหัวใจวาย เรียกว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) นี่คือเหตุผลว่าทำไม “หลอดเลือดหัวใจ” จึงสำคัญ

 

 

ทำไม? หลอดเลือดหัวใจจึงตีบ?

 

นั่นก็เพราะผนังของหลอดเลือดหัวใจหนาหรือขรุขระ มากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายหลอดเลือดหัวใจจะค่อยๆ แคบลงและอาจตีบตันลงในที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางท่านหลอดเลือดหัวใจตีบเพราะมี ไขมันในเลือดสูงเกินไป จนเกาะพอกตามผนังหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจเพราะมีพังผืดเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ สาเหตุจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น หรืออาจเพราะปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ ซึ่งนำสารนิโคตินไปกระตุ้นสารภายในร่างกายจนไขมันและโคเลสเตอรอลซึมซาบเข้าไปง่ายขึ้นจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง หรือสาเหตุจาก ความเครียด เพราะมีเมื่อความเครียดเกิดขึ้น ร่างกายจะสร้างสารที่เรียกว่า “อะดรีนาลิน"  มีฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น มีผลให้หลอดเลือดหัวตีบตัวนั่นเอง

 

 

ใครบ้าง? เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมักแปรผันตามอายุ ยิ่งอายุมากโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก็ยิ่งมีมาก หลอดเลือดหัวใจก็เหมือนกับเครื่องยนต์มีสึกหรอตามกาลเวลา จากสถิติพบว่าคนอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไปก็มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว โดยจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และหากมีพฤติกรรมเสี่ยงก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นไปอีก โรคหลอดเลือดหัวใจทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยแย่ลงมาก ไม่สามารถทำกิจกรรมได้เหมือนเก่า เช่นทำงานหนักไม่ได้เพราะเหนื่อยง่าย อีกทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจมีค่าใช้จ่ายสูงในการรักษา ซึ่งหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ และได้รับการรักษาที่ถูกต้องด้วยยาหรือด้วยการทำบอลลูน ที่ศูนย์หลอดเลือดหัวใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะยิ่งมีโอกาสหายและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น 

 

 

 

สัญญาณแบบนี้...เตือนว่าคุณกำลังเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

1. เจ็บหนักๆ ที่กลางหน้าอกหรือใต้กระดูกกลางหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ ครั้งละประมาณ 2-3 นาที

เมื่อนั่งพักจะดีขึ้น

2. หายใจไม่เต็มปอด อึดอัด หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้

3. เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมแบบไม่มีสาเหตุ

4. ออกแรงหรือออกกำลังกายไม่ได้จะรู้สึกเหนื่อยง่ายเป็นประจำ

5. หมดสติหรืออาจถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น

 

 

7. ปัจจัยเร่งเร้าโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

1. โรคหลอดเลือดหัวใจจากโรคเบาหวาน

2. โรคหลอดเลือดหัวใจเพราะระดับไขมันในเลือดสูง

3. โรคหลอดเลือดหัวใจในคนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ อ้วนลงพุง

4. โรคหลอดเลือดหัวใจในคนที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ประจำ

5. โรคหลอดเลือดหัวใจในคนที่กินอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด

6. โรคหลอดเลือดหัวใจในคนที่ไม่ออกกำลังกาย

7. โรคหลอดเลือดหัวใจในคนที่เครียดตลอดเวลา

 

 

 

ไม่แน่ใจในอาการหรือต้องการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ปรึกษาศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม 

 

ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ รักษา 24 ชม. 

พร้อมบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอด 24 ชม. พร้อมติดตามดูแลตลอดจนการฟื้นฟู ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ เทคโนโลยีอันทันสมัยมาตรฐานระดับสากล

 

====================================================================================================

 

ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม พร้อมรักษา ตลอด 24 ชั่วโมง

เพราะโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของเกือบทุกประเทศทั่วโลก เรียกว่าเป็นภัยเงียบร้ายที่แสดงอาการช้าแต่คร่าชีวิตผู้ป่วยได้เร็ว ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ บางรายอาจไม่พบสัญญาณเตือนล่วงหน้าเลยจนกระทั่งเกิดอาการและรักษาไม่ทัน ดังนั้น เวลา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์การแพทย์ที่ก้าวหน้าครบวงจร จะสร้างโอกาสรอดให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้มาก ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม จึงมุ่งมั่นมอบการรักษาที่ครบวงจรให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

 

รู้จักอุปกรณ์สำคัญของศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจ ได้ทันท่วงที

 

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง  (CT 64 Slices)  

สามารถตรวจหัวใจและเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แม่นยำใกล้เคียงกับการใส่สายสวน และถ่ายภาพขณะหัวใจยังเต้นโดยแสดงรายละเอียดต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งปริมาณ แคลเซียม หรือ หินปูน ที่เกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจได้ชัดเจน หลังตรวจสามารถกลับบ้านได้

  • ​เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram / EKG)   

อุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยจะแสดงความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้า อัตรา และ จังหวะการเต้นของหัวใจ เป็นวิธีที่ง่าย และ สะดวก ไม่เจ็บตัว รักษา

  • เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชนิดติดตามตัว (Holter Monitor)  

สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วไม่พบความผิดปกติ แต่ยังอยู่ในข่ายน่าสงสัย เครื่องนี้สามารถพกพาติดตามผู้ป่วย และบันทึกคลื่นหัวใจไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

  • เครื่องตรวจสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)     

อุปกรณ์ทดสอบว่าเมื่อหัวใจทำงานมากขึ้น มีความต้องการเลือดมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น แล้วขณะนั้นหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยสามารถส่งผ่านเลือดในปริมาณที่ร่างกายต้องการได้หรือไม่ ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันอยู่ เมื่อทำการทดสอบ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะแสดงสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อย่างชัดเจน และบ่งบอกระดับความรุนแรงของโรคว่า ต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมด้วยการสวนหัวใจหรือไม่

  • เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)     

ที่ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ จะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ใช้ช่วยในการตรวจหัวใจจากภายนอก ด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ทำให้เห็นการเคลื่อนไหวและการบีบตัว รูปร่าง และความหนาของผนังกล้ามเนื้อหัวใจว่าผิดปกติหรือไม่ ทั้งยังช่วยตรวจดูความพิการ การทำงานของลิ้นหัวใจ และโรคหัวใจอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาขั้นต่อไป ซึ่งวิธีนี้ไม่อันตรายและไม่เจ็บปวดใด ที่ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีเท่านั้น

 

  • ห้อง ไอซียู เคลื่อนที่ (Mobile ICU / CCU)

รถพยาบาลยุคใหม่ ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นสูงไว้อย่างครบครัน ได้มาตรฐานเดียวกับ ห้อง ไอซียู ในโรงพยาบาล พร้อมด้วยทีมแพทย์ และ พยาบาลตลอดการเดินทางสู่โรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำ ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ จะวิเคราะห์วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเทคโนโลยีที่หวังผลได้และเป็นที่นิยมใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจคือ การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน

 

ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ ใช้วิธีรักษาอย่างไร?

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่ศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ คือ การดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดหัวใจให้ไปชิดกับผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะรู้สึกเจ็บหน้าอกน้อยลง หายใจได้สบายขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้