ไขมันพอกตับ ภัยเงียบนำไปสู่ ตับแข็ง-มะเร็งตับ
July 15 / 2022

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัส Covid-19  พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยทั้งการ Work From Home สั่งอาหารออนไลน์ การใช้ชีวิตอยู่กับบ้านเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้ออกไปทำกิจกรรมอย่างที่เคยทำ จึงส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง อีกทั้งยังรวมถึงการเลือกทานอาหาร โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะอาหารที่ส่งผลถึงเรื่องไขมัน ซึ่งนำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับ

 

 

ภาวะไขมันพอกตับ สามารถพบได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของประชากร โดยพบได้ทุกเพศทุกวัย ยิ่งอายุมากขึ้นจะมีแนวโน้มหรือโอกาสพบได้มากขึ้น เพราะเหตุว่า “ไขมันพอกตับ” มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมของบุคคล ทั้งการใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวัน รวมถึงการมีพฤติกรรมความเสี่ยงกับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและเป็นเวลานานติดต่อกัน โรคไขมันพอกตับเป็นโรคที่พบได้ค่อยข้างบ่อย ในผู้ป่วยบ้างคนรายอาจจะไม่แสดงอาการชัดเจน แต่หากปล่อยทิ้งไว้จนทำให้เกิด ตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีโอกาสที่จะกลายเป็น โรคตับแข็ง และมะเร็งตับในอนาคต

 

 

 

 

ใครบ้างเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ

1. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ โดยวัดจากค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 BMI ขึ้นไป หรือมีภาวะอ้วนลงพุง โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่า 20 % ของคนกลุ่มนี้มีภาวะไขมันพอกตับร่วมด้วย 

2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง

3. ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ยาฮอร์โมน Tamoxifen ยาความดัน Dilatrend ยาโรคหัวใจ Amiodarone รวมถึงยาในกลุ่ม สเตียรอยด์ขนาดสูงเพื่อรักษาโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติของร่างกาย ส่งผลให้เกิดไขมันในตับได้เช่นกัน

 

การรักษาและวิธีการป้องกัน 

ตรวจร่างกายควบคู่ไปกับตรวจเลือด เพื่อนำผลมาประเมินการทำงานของตับ ดูค่าระดับมะเร็งตับ อัลตร้าซาวด์ตับ เพื่อให้คำแนะนำในการใช้ยารักษาควบคุมโรคที่สัมพันธ์กับไขมันพอกตับ การปรับพฤติกรรมการบริโภค การลดน้ำหนัก และการควบคุมอาหารหลีกเลี่ยงการรับประทานแป้ง ไขมัน และอาหารที่ มีน้ำตาลสูง ลดอาหารจุกจิก งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยเช่น ผัก ผลไม้ ให้เพิ่มมากขึ้น ทานอาหารโปรตีนจำพวกย่อยง่าย เช่น ปลา ไก่ ไข่ ถั่ว ทานอาหารมื้อเย็นให้เร็วขึ้นในปริมาณน้อย ไม่ทานมื้อดึก  และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละประมาณ 30-60 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์

 

“รพ.เชียงใหม่ ราม” ได้นำเทคโนโลยี ที่เรียกว่า  ELASTOGRAPHY  มาใช้ในการตรวจหาความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับว่ามาก หรือ น้อย เพียงใดโดยไม่เกิดความเจ็บปวดกับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน โดยใช้แทนวิธีการเจาะตับที่มีความเสี่ยงมากกว่า และมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และประเมินความรุนแรงของภาวะพังผืดในตับที่จะช่วยขยายผลไปสู่วิธีการรักษาโรคไขมันพอกตับอย่างตรงจุด 

โดยเทคโนโลยี ELASTOGRAPHY จะส่งคลื่นความถี่ต่ำเข้าไปกระทบกับเนื้อตับของคนไข้ จากนั้นจะมีการส่งคลื่นสะท้อนกลับมาที่เครื่องเพื่อให้แปลสัญญาณออกมาเป็นค่าพังผืดหรือค่าความแข็งตัวของตับ และประมวลผลเป็นหน่วยตัวเลข โดยการตรวจด้วยเทคโนโลยีนี้ต้องตรวจทุก ๆ 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับ

นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการ ตรวจประสิทธิภาพของตับหลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้ว  เช่น ก่อนเริ่มต้นการรักษามีค่าพังผืดในปริมาณที่สูง หลังจากรับการรักษาไปแล้วพบว่าค่าพังผืดลดลง แสดงว่าการรักษานั้นมีประสิทธิภาพและได้ผล 

 

หากมีความกังวลใจเกี่ยวกับโรคไขมันพอกตับ สามารถเข้ารับการตรวจด้วยเทคโนโลยี ELASTOGRAPHY เพื่อตรวจหาระดับความรุนแรงโรคไขมันพอกตับก่อนที่จะสายเกินไป

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

แผนกระบบทางเดินอาหารและตับ โทร 052 004 699 ต่อ 4108 , 4109    

 

แพ็กเกจตรวจคัดกรองไขมันพอกตับ คลิก >>  https://www.chiangmairam.com/readpackage/100

 

 

#อบอุ่นเชียวชาญ

#โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม