โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกๆคน ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยมลภาวะ ฝุ่นควัน และสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ผู้ป่วยมักมีอาการ เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก หรือแม้แต่หายใจไม่สะดวก ซึ่งอาจทำให้ลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยตรง
สาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้คือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายมากเกินไป เช่น ฝุ่นละออง ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เชื้อราในอากาศ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ
ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับสาเหตุของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ อาการที่ควรระวัง วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการ และแนวทางป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจมากขึ้น
โรคภูมิแพ้เกิดจาก ความผิดปกติในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันมีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจเป็นอันตราย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะมีการตอบสนองไวเกินกว่าปกติต่อสารที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ฝุ่นละออง ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ อาหารบางชนิด หรือแม้แต่ยาบางประเภท
เมื่อร่างกายได้รับสารเหล่านี้เข้าไป ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งอันตราย และเริ่มสร้าง แอนติบอดีที่เรียกว่า IgE (Immunoglobulin E) ซึ่งเป็นโปรตีนเฉพาะที่ทำหน้าที่จดจำสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ
หากผู้ป่วยได้รับสารก่อภูมิแพ้ครั้งต่อไป IgE ที่ถูกสร้างไว้จะไปจับกับสารก่อภูมิแพ้นั้น และกระตุ้นให้ เม็ดเลือดขาวชนิด Mast Cell ปลดปล่อยสารเคมีฮีสตามีน (Histamine) ออกมาซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ เช่น คันตามผิวหนัง เป็นผื่นแดง คัดจมูก หายใจไม่สะดวก หรือเกิดลมพิษ
ไรฝุ่น
ตัวไรฝุ่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ซึ่งสารก่อภูมิแพ้จะมาจากมูลตัวไรฝุ่น เมื่อมูลของไรฝุ่นแห้งก็จะฟุ้งกระจายเป็นฝุ่นละอองอนุภาคเล็ก ๆ ในอากาศ เมื่อหายใจเข้าฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายอาจจะก่อให้เกิดอาการโรคภูมิแพ้ได้
ฝุ่นละออง
หากร่างกายสูดดมฝุ่นละอองเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบบริเวณหลอดลม เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ อาจส่งผลให้เกิดอาการ ภูมิแพ้โพรงจมูก จาม น้ำมูก คัดจมูก
สปอร์เชื้อรา
สปอร์ของเชื้อรามีขนาดเล็กประมาณ 2-5 ไมครอนที่จะกระจายไปในอากาศหากเมื่อสูดดมเข้าไปในร่างกาย สปอร์เชื้อราจะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารที่ฮิสตามีนออกมา จนก่อให้เกิดอาการอาการแพ้ เช่น ไอ คันตา คัดจมูก มีน้ำมูกไหล หรือมีอาการปวดศีรษะ
ละอองเกสรดอกไม้
ควรหลีกเลี้ยงไม่ให้ร่างกายได้รับ สัมผัส หรือสูดดมสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้เข้าไป หากไม่สามารถหลีกเลี้ยงได้ควรที่จะใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไม่ให้สารก่อภูมิเข้าสู่ร่างกาย
อาการของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจที่พบบ่อยได้แก่
คัดจมูก
น้ำมูกไหล
จาม
มีอาการไอ
หายใจมีเสียงน้ำมูก
คันตา แสบตา
มีเสมหะไหลลงคอ เจ็บคอ ไอเรื้อรัง
เลือดกำเดาไหล
หลีกเลี่ยงการสูดดม หรือ สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้เช่น ฝุ่งละออง, ขนสัตว์ ไรฝุ่น
พักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ทำความสะอาดเป็นประจำ
ควรซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าม่าน เพื่อกำจัดไรฝุ่นที่เป็นตัวการทำให้เกิดอาการภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในทุกช่วงวัย ซึ่งแม้จะไม่ใช่โรคที่อันตรายถึงชีวิตในทันที แต่สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้อย่างมาก ดังนั้นการวินิจฉัยและรักษาโรคภูมิแพ้ให้ตรงจุด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines)
ช่วยบรรเทาอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือผื่นคัน ตัวอย่างยาต้านฮีสตามีนได้แก่ ลอราทาดีน (Loratadine), เซทิริซีน (cetirizine) เฟโซเฟนาดีน (fexofenadine) เลโวเซทิริซีน (levocetirizine), เดสลอราทาดีน (desloratadine)
ยาสเตียรอยด์ (Steroid)
จะช่วยลดอาการอักเสบ บวมแดง ซึ่งถูกผลิตออกมา 2 รูปแบบด้วยกันคือ สเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก และ สเตียรอยด์ประเภทยารับประทานหรือฉีด
เป็นการรักษาโรคภูมิแพ้ในระยะยาว เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง หรือรักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น โดยแพทย์จะควบคุมการให้สารก่อภูมิแพ้ในปริมาณน้อย ๆ เข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ สร้างภูมิต้านทาน
วิธีการรักษานี้ต้องอยู่ภายใต้ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง การรักษาจะใช้เวลาในการรักษานาน 3–5 ปี สามารถลดความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ และอาการแพ้ได้ในระยะยาว
แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย เช่น มีอาการไอ จาม คัดจมูก ผื่น หรือแน่นหน้าอกบ่อยแค่ไหน อาการเป็นช่วงเวลาใด หรือมีปัจจัยอะไรที่กระตุ้นให้เกิดอาการ จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้นร่วมด้วย
วิธีนี้แพทย์จะหยดสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ ลงบนผิวหนังที่แขนหรือหลัง แล้วใช้เข็มเล็ก ๆ จิ้มเบา ๆ เพื่อให้สารสัมผัสกับผิวหนัง หากผู้ป่วยแพ้สารชนิดใด บริเวณนั้นจะมีอาการบวมแดงคล้ายยุงกัดภายใน 15–20 นาที
เป็นวิธีที่ใช้ตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำ Skin Test ได้ เช่น เด็กเล็ก ผู้ที่มีผื่นมาก หรือผู้ที่รับประทานยาต้านภูมิแพ้ โดยวิธีการตรวจเลือดจะวัดระดับแอนติบอดี IgE เฉพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เพื่อดูว่าร่างกายไวต่อสารก่อภูมิแพ้สิ่งใดบ้าง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การตรวจสอบโรคภูมิแพ้แต่ละวิธีมีอะไรบ้าง
อย่ารอช้าหากเกิดอาการคัดจมูก ไอ จาม หรือมีอาการแพ้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้ปอดติดเชื้อหรือเกิดการอักเสบไปมากกว่านี้
สามารถติดต่อแผนกห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม ตลอด 24 ชั่วโมงได้ทันที